Smoke Detector อุปกรณ์ช่วยชีวิตผู้คนได้อย่างดีเกินคาด
จากสถิติจากสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ พบว่าการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้ในอาคารถึง 38% ไม่มีระบบ Smoke Detector และ 21% พบว่าอาคารที่เกิดเพลิงไหม้จะติดตั้งระบบ Smoke Detector แต่เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ระบบไม่ทำงาน
Smoke Detector คือ
การตรวจจับอนุภาคควันไฟ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในขณะที่เปลวไฟเริ่มลุกไหม้บนเชื้อเพลิง ควันไฟจะเป็นสิ่งแรกที่จะลอยขึ้นสู่ที่สูงก่อน ซึ่งจะไปกระทบกับเครื่องตรวจจับควันไฟที่ถูกติดตั้งอยู่บนเพดาน ทำให้การส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้เริ่มทำงาน เพื่อแจ้งเตือนให้คนที่อยู่ภายในอาคารรับรู้เหตุการณ์ได้ทันที
การตรวจสอบอุปกรณ์ Smoke Detector ตามมาตรฐาน
หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันแล้ว ทุก 1-2 ปี ควรมีการสำรวจความพร้อมของอุปกรณ์ว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่ เนื่องจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่น ลม ความร้อน ความชื้น มีผลทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันเกิดความเสียหายหรือมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง รวมถึงการตรวจสอบดังรายการตอ่ไปนี้
1.ชิ้นส่วนสำคัญของอุปกรณ์ที่ติดตั้งยังอยู่ครบ เช่น หลอดไฟแสดงผลอุปกรณ์ต่อสัญญาณกับวงจรสัญญาณ
2.ตรวจสอบว่า มีฝุ่นสะสมอยู่ภายในตัวตรวจจับหรือไม่ เนื่องจากการสะสมของฝุ่นจะส่งผลต่อการตรวจจับควันไฟให้ไม่สามารถทำงานได้ดี
3.ชิ้นส่วนโลหะของอุปกรณ์ไม่มีร่องรอยการผุกร่อน
4.ตาข่ายป้องกันแมลงที่ติดตั้งบนกล่องครอบอุปกรณ์ ต้องอยู่ในสภาพที่ยังใช้งานได้ดี รวมถึงได้รับการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
5.อุปกรณ์ยังคงติดตั้งอยู่อย่างมั่นคง น็อตที่ยึดอุปกรณ์ไม่หลุดหลวมและอยู่ในสภาพการใช้งานที่ปกติ
วิธีทดสอบการตรวจจับควัน
การทดสอบความไวในการตรวจจับควันด้วยอุปกรณ์ทดสอบ ในการตรวจค่าการตรวจจับสูงสุด และต่ำสุดตามความสามารถของอุปกรณ์ภายใต้ความเร็วลม รวมถึงทิศทางของควันไฟตามค่าที่กำหนด เพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันหลังจากการติดตั้งแล้ว มีวิธีการดังนี้
1.การทดสอบด้วยละอองควันที่ใช้ในการทดสอบ ต้องทำการป้อนเข้ากล่องตรวจจับควันแบบต่อเนื่องจนกว่าอุปกรณ์จะแสดงสถานะตรวจจับได้ หรือ มีการแจ้งเหตุเกิดขึ้น โดยการทดสอบแต่ละครั้งต้องทำการระบายอากาศให้กล่องจนกว่าอุปกรณ์จะกลับไปแสดงสถานะปกติ และมีการไหลของอากาศอยู่ในระดับเสถียรไม่น้อยกว่า 30 วินาทีก่อนทำการทดสอบอีกครั้ง
2.ทำการทดสอบภายใต้อุณหภูมิระหว่าง 20-26 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 30-70% และความดันอากาศ 93.3 กิโลปาสคาล
3.การทดสอบในห้องทดสอบ อุปกรณ์ตรวจจับควันต้องปรับค่าไว้ให้ต่ำที่สุด หลังจากที่จุดเชื้อเพลิงแล้วให้ทำการจับเวลา เมื่อเครื่องเริ่มส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 วินาที ซึ่งการประเมินผลการทดสอบคือ อุปกรณ์ตรวจจับควันแต่ละตัวต้องทำงานในช่วงความไวตามที่กำหนด
สำหรับการใช้งานอุปกรณ์ Smoke Detector ที่เสื่อมสภาพไปแล้ว อาจมีการทำงานที่ผิดพลาดได้ False Alarm ส่งผลให้ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ทำงานได้อย่างผิดปกติ และเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ อุปกรณ์ตรวจจับควันก็อาจจะไม่ทำงาน จนทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้
บทสรุป
Smoke Detector คือ
การตรวจจับอนุภาคควันไฟ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในขณะที่เปลวไฟเริ่มลุกไหม้บนเชื้อเพลิง ควันไฟจะเป็นสิ่งแรกที่จะลอยขึ้นสู่ที่สูงก่อน ซึ่งจะไปกระทบกับเครื่องตรวจจับควันไฟที่ถูกติดตั้งอยู่บนเพดาน ทำให้การส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้เริ่มทำงาน เพื่อแจ้งเตือนให้คนที่อยู่ภายในอาคารรับรู้เหตุการณ์ได้ทันที
วิธีทดสอบการตรวจจับควัน
วิธีทดสอบการตรวจจับควัน
1.การทดสอบด้วยละอองควันที่ใช้ในการทดสอบ
ต้องทำการป้อนเข้ากล่องตรวจจับควันแบบต่อเนื่องจนกว่าอุปกรณ์จะแสดงสถานะตรวจจับได้ หรือ มีการแจ้งเหตุเกิดขึ้น โดยการทดสอบแต่ละครั้งต้องทำการระบายอากาศให้กล่องจนกว่าอุปกรณ์จะกลับไปแสดงสถานะปกติ และมีการไหลของอากาศอยู่ในระดับเสถียรไม่น้อยกว่า 30 วินาทีก่อนทำการทดสอบอีกครั้ง
2.ทำการทดสอบภายใต้อุณหภูมิระหว่าง 20-26 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 30-70% และความดันอากาศ 93.3 กิโลปาสคาล
3.การทดสอบในห้องทดสอบ
อุปกรณ์ตรวจจับควันต้องปรับค่าไว้ให้ต่ำที่สุด หลังจากที่จุดเชื้อเพลิงแล้วให้ทำการจับเวลา เมื่อเครื่องเริ่มส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 วินาที ซึ่งการประเมินผลการทดสอบคือ อุปกรณ์ตรวจจับควันแต่ละตัวต้องทำงานในช่วงความไวตามที่กำหนด
สนใจสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่ Smoke detector หรือติดต่อได้ที่ Line
โทรติดต่อ : Phone: (+66) 2-240-1331